ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำการเปิด มาตรการช่วยเหลือ ให้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยมีวงเงินโครงการ 3 พันล้านบาท (15 ก.ค. 2565) ธ.ก.ส. เติมทุนกว่า 3,000 ล้านบาท หนุน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันในตลาดผ่าน มาตรการช่วยเหลือ : โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเล รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท ชำระคืนภายใน 10 ปี ดอกเบี้ย MRR / MLR ตามประเภทลูกค้า เพื่อเสริมสภาพคล่องในการลงทุน ทั้งการผลิตและส่งออกกุ้งให้กับเกษตรกร ช่วยลดปัญหาการก่อหนี้นอกระบบที่เป็นภาระหนัก
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เนื่องด้วยต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านอาหาร พลังงานและปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล ทำให้การผลิตและส่งออกกุ้ง ทั้งขนาดและปริมาณไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด
จากปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงวางนโยบายในการแก้ไขปัญหาในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วยและลดต้นทุนการผลิตด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างฟาร์ม เป็นต้น
ธ.ก.ส. จึงได้ขยายโครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564 (เพิ่มเติม) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งให้เข้าถึงเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ป้องกันการก่อหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างไม่เป็นธรรม อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพและการแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตอื่น
สำหรับเงื่อนไขผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรหรือนิติบุคคลผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่จังหวัดที่เหมาะสมในการเลี้ยงกุ้งทะเล 35 จังหวัด โดยการลงทุนลดต้นทุนการผลิต เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ระบบควบคุมเครื่องเติมอากาศอัจฉริยะ (Smart Energy) การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยประหยัดพลังงานสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล หรือการปรับปรุงโครงสร้างฟาร์มหรือบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล โดยจำกัดวงเงินรายละไม่เกิน 3 ล้านบาท วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้รายคน MRR ต่อปี และสำหรับผู้กู้นิติบุคคล MLR ต่อปี โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ MRR – 3 หรือ MLR – 3 ตามประเภทของผู้กู้ (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี และ MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี) และกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชดเชยดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี กำหนดการชำระคืนภายใน 10 ปีนับจากวันที่ทำสัญญา ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อตั้งแต่บัดนี้ถึง 20 พฤษภาคม 2569
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 12 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
IBank จับมือ edtguide.com เปิดแคมเปญมอบ ส่วนลดร้านค้าฮาลาล 40 กว่าแห่ง
ไอแบงก์ (IBank) จับมือกับ edtguide.com ในการจัดแคมเปญ “ช้อปปิ้ง กิน เที่ยว ไอแบงก์แจกเลยไม่ต้องรอ” – ส่วนลดร้านค้าฮาลาล 40 กว่าแห่ง
(15 ก.ค. 2565) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBank) จับมือ edtguide.com เปิดตัวแคมเปญ “ช้อปปิ้ง กิน เที่ยว ไอแบงก์แจกเลยไม่ต้องรอ” มอบ ส่วนลดร้านค้าฮาลาล กว่า 40 ร้าน ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม – 30 พฤศจิกายน 2565
แคมเปญ “ชอปปิ้ง กินเที่ยว ไอแบงก์ แจกเลยไม่ต้องรอ” เป็นกิจกรรมที่ไอแบงก์จัดขึ้น เพื่อให้นักช้อป นักกินและท่องเที่ยว ได้รับประสบการณ์ดี ๆ จากไอแบงก์ โดยการมอบส่วนลดหรือสิทธิพิเศษจากร้านค้าฮาลาลที่ร่วมรายการกับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านของฝาก ร้านเสื้อผ้า ในพื้นที่ 18 จังหวัดทุกภาคของไทย ได้แก่
กรุงเทพฯ นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ชลบุรี จันทบุรี ศรีสะเกษ น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรมราช ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสาขาของไอแบงก์ตั้งอยู่
อีกทั้งยังเป็นการแสดงจุดยืนในการเป็นธนาคารที่ส่งเสริมตลาดฮาลาล (Halal Market) ให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาทั้งในระดับประเทศและส่งออก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ
วิธีการเข้าร่วมแคมเปญสุดง่าย เพียงเพิ่มเพื่อนไลน์ iBank 4 All (@ibank) คลิกลงทะเบียน กดรับ E-Coupon และนำไปแสดงเพื่อรับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษกับพนักงานร้านค้าที่เข้าร่วมแคมเปญ (จำกัดสิทธิ์ใช้ E-Coupon เพียง 5 ครั้งต่อวัน)
เน้นประสบการณ์ของผู้ซื้อ (Consumer Focused) – เนื่องจาก FazWaz เป็นเว็บไซต์ค้นหาอสังหาฯ ลูกผสม ที่ไม่ใช่เเค่เว็บไซต์ลงประกาศ บริษัทจึงให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้ามากกว่านายหน้า เพื่อช่วยให้กระบวนการการซื้อขายเเละเช่าสะดวกขึ้น
ทางธนาคารจึงได้เกิดแนวคิดในการจัดทำโครงการ ออมสินเพื่อสมุย หรือ GSB SAMUI Model โดยเป็นการนำทีมงานจากส่วนกลาง และธนาคารออมสินในภาค 16 จำนวน 500 คน มาให้ความช่วยเหลือทางการเงินให้แก่คนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการสินเชื่อเร่งด่วนฉุกเฉิน การมอบทุนการศึกษา การมอบเงินทุนต่อยอด เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสร้างอาชีพใหม่ การฝึกฝนงาน เป็นต้น
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง